Last updated: 26 ก.ย. 2562 | 1046 จำนวนผู้เข้าชม |
ชื่อสมุนไพร :ถั่งเช่า หรือ ตังถั่งแห่เช่า
ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) :Chong cao, Dong chong xia cao
ชื่ออื่น :ถั่งเช่า,หนอนเทวดา,ตังถั่งแห่เช่า,เห็ดถั่งเช่า,หญ้าหนอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cordyceps sinensis (Berk.) Sacc. (อ้างอิงที่ 1)
ถั่งเช่า (Chong cao)หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็น ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย ถือว่าเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงสุดของชาวเอเชีย ด้วยคุณสมบัติที่ให้ผลเรื่องการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศอันโด่งดัง ซึ่งในประเทศจีนนั้นมีการใช้ถั่งเช่าอย่างแพร่หลายมานานนับศตวรรษ และตามตำราแพทย์แผนจีนถั่งเช่านั้นมีสรรพคุณทางยาหลายประการ อาทิเช่น ส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้อสุจิแข็งแรง บำรุงสตรีให้มีบุตรง่าย ปรับประจำเดือนให้สมดุล บำรุงร่างกาย บำรุงอวัยวะภายใน ด้วยเหตุนี้ ชาวจีนจึงนิยมนำถั่งเช่ามาปรุงอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพนั่นเอง
ด้วยวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้าในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture)และนำมาพัฒนาต่อเป็นอาหารเสริมและยา เนื่องจากในถั่งเช่านั้นมีสารสำคัญนั่นก็คือ คอร์ไดเซพิน (Cordycepin) ซึ่งช่วยในการยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งสมอง มะเร็งผิวหนัง มะเร็งเต้านม และมะเร็งเม็ดเลือดขาว (อ้างอิงที่ 3-7) ช่วยลดการอักเสบของตับจากโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (อ้างอิงที่ 8-9) ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ (อ้างอิงที่ 2) ช่วยบำรุงร่างกาย ลดอาการเหนื่อยล้า (อ้างอิงที่ 11) กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (อ้างอิงที่ 2) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบทางชีวภาพอื่นๆด้วย เช่น กรดคอร์ไดเซปิก ช่วยรักษาการเกิดพังผืดที่ตับ, อะดีโนซีน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง, พอลิแซ็กคาไรด์ วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ เป็นต้น (อ้างอิงที่ 12)
ทั้งนี้ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งสาเหตุของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิงนั้น เกิดจาก (อ้างอิงที่ 13)
อายุ:เมื่อผู้หญิงเริ่มก้าวเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ความต้องการทางเพศ ความตื่นเต้นทางเพศ และการตอบสนองทางเพศลดลงได้
โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ:ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง เป็นต้น ด้วยภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายดังกล่าวอาจส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลงได้
การรักษาโรคด้วยยา:เช่น สเตียรอยด์, ยาลดกรด, ยาลดการแพ้ การระคายเคือง, ยาต้านโรคพาร์กินสัน, แอลกอฮอล์, ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
นอกจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาจเกิดจากความเครียดหรือภาวะซึมเศร้า อันเนื่องมาจากการทำงานหนัก ภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว หรือความกังวลใจในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิงที่พบบ่อย ได้แก่ มีความต้องการทางเพศลดลง ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการร่วมเพศ เช่น ช่องคลอดอักเสบ สารคัดหลั่งถูกขับออกมาน้อยทำให้ช่องคลอดฝืด เป็นต้น (อ้างอิงที่ 14-15) ซึ่งอาการดังกล่าว ส่งผลเป็นอย่างมากต่อสภาพจิตใจ และความสุขในการใช้ชีวิตคู่ จนในบางครั้ง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาครอบครัวได้
ในปัจจุบัน มีงานวิจัยสนับสนุนว่า การใช้ถั่งเช่าที่ 3 กรัมต่อวันช่วยให้ผู้หญิงที่มีปัญหาหมดความรู้สึกทางเพศ (libido) กลับมามีความรู้สึกทางเพศได้ 86 % (อ้างอิงที่ 2,10) จึงมีการนำถั่งเช่าที่ส่งผลดีต่อสุขภาพสตรีหลากหลายชนิดมาใช้เพื่อดูแลปัญหาดังกล่าว เพื่อเติมเต็มความสุขในชีวิตครอบครัวให้กับคุณสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี อีกทั้งยังช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย
ข้อควรระวังในการใช้ถั่งเช่า (อ้างอิงที่ 2)
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ จึงอาจไปเสริมฤทธิ์กับยาลดน้ำตาลในเลือด
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
อาหารสุขภาพที่มีการยอมรับว่า ช่วยในการดูแลสุขภาพสตรี อาทิเช่น
●ทับทิมสกัด (อ้างอิงที่ 16)
ลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
ลดปัจจัยที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูง
ต้านการอักเสบ
ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์
●ไลโคพีน (อ้างอิงที่ 17)
ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก
ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ต้านอนุมูลอิสระ
●สารสกัดจากถั่วเหลือง (อ้างอิงที่ 18)
ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยหมดประจำเดือน
ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด
●วิตามินซี
ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
มีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน
ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จากเว็บไซต์บริษัทกิฟฟารีน
24 ม.ค. 2562
13 ก.ย. 2562