เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแอสตาแซนธินที่มีต่อสุขภาพผิวและการเกิดริ้วรอย

Last updated: 26 ก.ย. 2562  |  1235 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแอสตาแซนธินที่มีต่อสุขภาพผิวและการเกิดริ้วรอย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแอสตาแซนธินที่มีต่อสุขภาพผิวและการเกิดริ้วรอย

 

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) คือสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับการยอมรับจากวารสารทางวิชาการนานาชาติ ในเรื่องการดูแลผิวให้คงความอ่อนเยาว์ โดยแอสตาแซนธิน เป็นสารสีแดงที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ จากปลาแซลมอน กุ้ง ปู (อ้างอิงที่ 1)และสาหร่ายฮีมาโตคอคคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีแอสตาแซนธินมากที่สุดในธรรมชาติ (อ้างอิงที่ 2)

กระบวนการผลิตแอสตาแซนธินจากสาหร่าย Haematococcus pluvialisที่เรานำมาใช้เป็นแบบระบบปิด เริ่มจากเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อเพื่อให้ได้สาหร่ายตั้งต้นที่บริสุทธิ์ ไม่มีการปนเปื้อน โดยมีสารอาหารที่จำเป็นและแสงที่ช่วยในการเจริญเติบโต จากนั้นสาหร่ายก็จะถูกถ่ายโอนไปยัง Photobioreactors  ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้มีสภาวะที่เหมาะสมให้สาหร่ายสามารถเจริญได้ดีที่สุด เพื่อเปลี่ยนเป็นสาหร่ายสีแดง  เมื่อสาหร่ายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ก็จะเก็บเกี่ยว โดยนำไปบด และเข้าสู่กระบวนการสกัดได้เป็นผงสีแดง ซึ่งมีสารแอสตาแซนธินที่มีความเข้มข้นสูง (อ้างอิงที่ 3)

มีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลของแอสตาแซนธินต่อสุขภาพผิวกับกลุ่มผู้หญิงอาสาสมัครจำนวน 30คน อายุเฉลี่ย 20-55ปี พบว่า การรับประทานแอสตาแซนธิน 6มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่ไปกับการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากแอสตาแซนธินอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า

ช่วยลดเลือนริ้วรอย รอยเหี่ยวย่นลดลง โดยเฉพาะรอยตีนกา (Crow’s feet)
ช่วยลดจุดด่างดำ (Age spot size)
ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม โดยเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisture content) และความยืดหยุ่น (Elasticity) ให้กับผิว
ดูแลลึกทุกชั้นผิว ผิวมีความชุ่มชื้นขึ้นทั้งผิวชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน
 

ทั้งนี้ ยังมีงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม(Randomized double-blind  placebo controlled study) ซึ่งทั้งผู้ทำการวิจัยไม่ทราบว่าจ่ายยาจริงหรือยาหลอกให้แก่อาสาสมัคร และอาสาสมัครก็ไม่ทราบว่าได้รับยาจริงหรือยาหลอก (Double blinded study) โดยทำงานวิจัยนี้กับกลุ่มผู้ชายในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 36คน อายุระหว่าง 20ถึง 60ปี การวิจัยได้แบ่งอาสามัครเป็น 2กลุ่มเท่าๆ กัน คือ กลุ่มที่ได้รับแอสตาแซธินจาก Haematococcus pluvialis6มิลลิกรัม จำนวน 18คน และกลุ่มหนึ่งที่ได้รับยาหลอก (Placebo)จำนวน 18คน หลังจากสัปดาห์ที่ 6พบว่า ผู้ที่รับประทานแอสตาแซนธินมีสุขภาพผิวดีขึ้น สามารถช่วยลดเรือนริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้แก่ผิวได้เช่นกัน ดังนั้น การรับประทานแอสตาแซนธินจึงช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย (อ้างอิงที่ 1)

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า การรับประทานแอสตาแซนธิน 6 มก. ต่อเนื่องเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่งผลดีต่อสุขภาพดวงตา โดยอาการเมื่อยล้าดวงตาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีการทดลองในกลุ่มคนออกกำลังกาย พบว่ากลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธินสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น และความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อลดลง (อ้างอิงที่ 6, 7)

ทั้งนี้ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ใช้แอสตาแซนธินในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูงสุดได้ไม่เกิน 6มิลลิกรัมต่อวัน (อ้างอิงที่ 4)ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีปริมาณการใช้แอสตาแซนธินสูงสุดตามที่ อย. กำหนด โดยอาจผสมกับวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน (อ้างอิงที่ 5)เพื่อมุ่งหวังให้ผลดีต่อสุขภาพผิวพรรณของผู้บริโภค ลดการเกิดริ้วรอย ลดจุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้กับผิว ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว ทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี แลดูอ่อนวัยและกระจ่างใส แม้ตัวเลขของอายุจะเพิ่มขึ้นก็ตาม    

 

 เอกสารอ้างอิง

Cosmetic benefit of astaxanthin on humans subject. Acta Biochimica Polonica. 2012 ; 59(1) : 43-47
Astaxanthin, a carotenoid with potential in human health and nutrition. J Nat Prod. 2006 Mar; 69(3):443-9
Unrivaled cultivation technology & superior natural astaxanthin products. http://www.astareal.com/about-astaxanthin/production
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
Nagaki Y et al., The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia. J Clin Therap Med. 2006;22:41-54. 
Malmsten CL et al., Dietary supplementation with astaxanthin-rich algal meal improves strength endurance ? A double blind placebo controlled study on male students ?. Carotenoid Science. 2008;13:20-22. 

 

ที่มา www.giffarine.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้